ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ(การแสดงของภาคเหนือ)


การแสดงของภาคเหนือ

ในภาคเหนือภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีอุปนิสัยอ่อนโยนยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อยงดงามละเมียดละไมเนิบนาบอ่อนหวาน

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือเรามักเรียกว่า ฟ้อน มีลักษณะคล้ายระบำ คือมีผู้แสดงหลายคนเป็นชุดเป็นหมู่ ร่ายรำทำท่าเหมือนๆกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่างๆ แต่ที่ไม่เรียกว่าระบำ เพราะฟ้อนมีจังหวะและลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนระบำหรือการแสดงอื่นๆ

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือมีหลายอย่าง ได้แก่

- ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง - ฟ้อนเทียน - ฟ้อนลาวแพล

- ฟ้อนรัก - ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา - ฟ้อนเงี้ยว

- ฟ้อนดวงเดือน - ฟ้อนเจิงและตบมะผาบ - ฟ้อนบายศรี

- ฟ้อนดวงดอกไม้ - ฟ้อนดาบ

ฟ้อนเทียน

เดิมคงเป็นการฟ้อนสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาแสดงในงานพิธีสำคัญในคุ้มเจ้าหลวง ผู้ฟ้อนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน เมื่อ พ.. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองเหนือ เจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดสาวเหนือฟ้อนรับเสด็จและครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ได้นำมาสอนในวิทยาลันนาฏศิลป์ต่อมา

ลักษณะการแสดง ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ถือเทียนจุดไฟมือละเล่มนิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของฟ้อนเทียนอยู่ที่แสงเทียน เต้นระยิบระยับขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือ และลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆเห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวนควงคู่สลับแถว เข้าวง ต่อมือ ฯลฯ งดงามมาก

การแต่งกาย นุ่งซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแยนยาวคอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูงประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม

ดนตรีประกอบ มีปี่แน กลองแอว์ กลองตะโล้ดโป้ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง และฆ้องหุ่ย

ถ้าแสดงกลางวันนิยมแสดงฟ้อนเล็บ คือ ผู้ฟ้อนสวมเล็บยาว 8 เล็บแทนการถือเทียน ลีลาการฟ้อนคล้ายคลึงกัน การแต่งการและดนตรีก็เหมือนกัน


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Calendar