ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ


ประเพณีปอยส่างลอง
ช่วงเวลา
ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา 3-7 วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน 3 วัน

ความสำคัญ
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

พิธีกรรม

มี 2 วิธีคือ แบบที่เรียกว่า ข่ามดิบ และแบบส่างลอง
1. แบบข่ามดิบ เป็นวิธีการแบบง่าย ๆ คือ พ่อแม่จะนำเด็กไปโกนผมที่วัดหรือที่บ้าน เสร็จแล้วนุ่งขาวห่มขาว เตรียมเครื่องไทยทานอัฐบริขารไปทำพิธีบรรพชาเป็นสามเณรที่วัด พระสงฆ์ประกอบพิธีให้ก็เป็นสามเณร
2. แบบส่างลอง จะเป็นวิธีการที่จัดงานใหญ่โดยทั่ว ไปจะจัดงานกัน 3 วัน วันแรกเรียกว่า วันรับส่างลองในตอนเช้าจะ โกนผมแล้วแต่งชุดลำลอง ซึ่งเครื่องแต่งกาย จะประดับด้วยเครื่องประดับที่มีค่า โพกศรีษะเหมือนชาวพม่า นุ่งผ้าโสร่ง ทาแป้ง เขียนคิ้วทาปาก แห่ขอขมาศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน ขอขมาพระสงฆ์ ที่วัดและญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพรักใคร่ชอบพอ ตลอดทั้งวันจะรับประทาน อาหารที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันที่แห่งเครื่องไทยทาน และส่งไปที่วัดเลี้ยง อาหราผู้ที่มาร่วมขบวนแห่ และพิธีทำขวัญส่างลอง เลี้ยงอาหารซึ่งถือว่ามื้อนี้เป็นอาหาร มื้อพิเศษจะประกอบด้วยอาหาร 12 อย่างแก่ส่างลองด้วย วันที่สาม เป็นวันบรรพชาสามเณร ในตอนบ่ายจะแห่ส่างลองไปที่วัดและทำพิธีบรรพชา เป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีและวัฒนธรรม ปอยส่างลอง

สาระ
1. ผู้ที่ผ่านการบรรพชาเป็นสามเณรจะได้รับการยกย่องเรียกคำว่า ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
2. ผู้ที่ผ่านการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า หนาน นำหน้าชื่อตลอดไป
3. บิดาที่จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณร จะได้รับยกย่องเรียกคำว่าพ่อส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
4. มารดาที่ได้จัดบรรพชาให้ลูกเป็นสามเณรจะได้รับยกย่องเรียกคำว่าแม่ส่าง นำหน้าชื่อตลอดไป
5. บิดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุจะได้รับยกย่องเรียกคำว่า พ่อจาง นำหน้าชื่อตลอดไป
6. มารดาที่จัดบรรพชาลูกเป็นพระภิกษุ จะได้รับยกย่องเรียกคำว่า แม่จาง นำหน้าชื่อตลอดไป
7. การจัดงานปอยส่างลอง เป็นการสืบท
องพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ช่วงเวลา
เทศกาลสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

ความสำคัญ
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมานานว่า เมื่อประมาณ สี่ร้อยปี ที่แล้ว พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของเมืองเพชรบูรณ์ ได้หายไปจากวัด ที่ประดิษฐานอยู่ ซึ่งก็คือวัดไตรภูมิ ในวันที่หายก็คือวันสารทไทย จากนั้นชาวบ้านก็ช่วยกันออกตามหา และได้พบพระพุทธมหาธรรมราชา ที่วังน้ำวน ที่ซึ่งเคยพบ พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นครั้งแรกและได้ อันเชิญมาเป็นพระพุทธรูป ประจำจังหวัด ดังนั้นพอถึงวันสารทไทย ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้พร้อมใจกันจัดงานอุ้มพระดำน้าขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคล แก่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยบุคคลที่จะเป็น ผู้ที่อุ้มพระดำน้ำ ได้นั้น ต้องเป็นเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เท่านั้น
พระพุทธรูปที่จะใช้ในการประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ก็คือ พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ศิลปะสมัยลพบุรี เนื้อองค์พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความกว้างของหน้าตัก 13 นิ้วและมีความสูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

พิธีกรรม
1. จัดให้มีการตั้งศาลเพียงตาแล้วอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชามาประทับ ทำพิธีสวดคาถา โดยพราหมณ์ผู้ทำพิธีนุ่งขาวห่มขาวแล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบกให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาและมีงานฉลองสมโภช
2. จัดให้มีพิธีอุ้มพระดำน้ำในตอนเช้าหลังทำบุญสารทโดยมีขบวนเรือแห่ นำไปโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อถึงบริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร เจ้าเมืองพร้อมข้าราชบริพารจะอุ้มพระลงดำน้ำ โดยหันหน้าองค์พระไปทิศเหนือ 3 ครั้ง ทิศใต้ 3 ครั้ง ชาวบ้านจะโปรยข้าวตอก ดอกไม้และข้าวต้มกลีบ เมื่อดำน้ำเสร็จชาวบ้านจะตักน้ำรดศีรษะและรดกันเองเพื่อเป็นสิริมงคล

สาระ
ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าทำพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

แหล่งที่มา
http://blog.eduzones.com/eve123/3507

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Calendar